เม็ดสีที่เยื่อบุตาขาว (Conjunctival Melanosis) เป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่พบได้บนตาขาวของดวงตา ในบางคนมีมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอันตราย แต่บางกรณีอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์
เม็ดสีที่ตาขาวอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักให้เข้าใจง่าย
1. เม็ดสีที่ไม่เป็นอันตราย (Benign Melanosis)
- Primary Acquired Melanosis (PAM) – พบในผู้ใหญ่ เป็นจุดสีน้ำตาลกระจายบนเยื่อบุตาขาว มักไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
- Nevus (ไฝที่ตา) – เป็นก้อนสีน้ำตาล ขอบชัดเจน อาจโตขึ้นเล็กน้อยเมื่ออายุมากขึ้น
- เม็ดสีจากพันธุกรรมหรือเชื้อชาติ – พบในบางกลุ่มเชื้อชาติ เช่น คนเอเชียหรือแอฟริกัน
2. เม็ดสีที่อาจเป็นอันตราย หรือมีแนวโน้มเป็นมะเร็ง
- Primary Acquired Melanosis with Atypia (PAM with Atypia) – PAM ที่ขนาดใหญ่เกิน 2 clock hour ของกระจกตา แนะนำนำออก เนื่องจากมีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
- Conjunctival Melanoma – เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย แต่มีโอกาสลุกลาม จึงต้องวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
1.เม็ดสีที่ “ปลอดภัย” มักมีลักษณะดังนี้
- อยู่ใน ชั้นตื้น ของเยื่อบุตา
- มีขนาดคงที่มานานเกิน 5 ปี
- ไม่มีหลอดเลือดผิดปกติ หรือโตขึ้นรวดเร็ว
- ไม่มีอาการอื่นร่วม เช่น ระคายเคืองหรือมองเห็นผิดปกติ
2.เม็ดสีที่ “ควรตรวจเช็ก” เพิ่มเติม ได้แก่
- สีเข้มขึ้นรวดเร็วหรือขยายตัวในระยะเวลาสั้น
- ขอบไม่เรียบ รูปร่างผิดปกติ หรือมีหลายเฉดสี
- มีเส้นเลือดใหม่ผิดปกติไปเลี้ยง
- มีเลือดออกเอง หรือทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา
- ตำแหน่งที่ควรระวังเป็นพิเศษ
*หัวตา (Medial Canthus) – เป็นตำแหน่งที่เม็ดสีผิดปกติมักพัฒนาเป็นมะเร็ง
*ขอบตา (Limbal Area) – เม็ดสีที่ขยายจากเยื่อบุตาไปถึงกระจกตา
*เยื่อบุตาด้านในเปลือกตา (Palpebral Conjunctiva) – ตำแหน่งนี้พบเม็ดสีผิดปกติน้อย แต่หากเกิดขึ้นควรได้รับการตรวจละเอียด
หากพบเม็ดสีในบริเวณเหล่านี้ หรือมีลักษณะที่ผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
- เม็ดสีที่อยู่ ในชั้นตื้นของเยื่อบุตา
- ขนาดคงที่มานานเกิน 5 ปี
- ไม่มีเส้นเลือดผิดปกติ ไปเลี้ยง
- ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสีหรือขอบเขตอย่างรวดเร็ว
- หยอดยาชา ไม่มีความเจ็บเคือง
- เลเซอร์ด้วยเครื่องเลสิกที่มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง
- ปิดตาหลังทำ 1-2 คืน
- หลังเปิดตา ใช้ตาได้ปกติ มักมีรอยแดง ให้หยอดยา 1-2 สัปดาห์
- ความเสี่ยง หากเลเซอร์เม็ดสีที่ไม่ได้ประเมินอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
- เลือดออกไม่หยุด
- เกิดแผลเปิดขนาดใหญ่ conjunctival epithelial defect ที่เยื่อบุตา
- เกิดแผลเป็นนูนขนาดใหญ่ที่ทำให้ต้องผ่าตัด
- กระตุ้นต้อลมและการอักเสบเรื้อรัง
บทความโดย พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง บุกเบิกเลเซอร์เม็ดสีตาขาวประเทศไทย 2567
หากคุณมีเม็ดสีที่ตาขาว และต้องการตรวจประเมินว่าสามารถรักษาด้วยเลเซอร์ได้หรือไม่ สามารถนัดหมายเพื่อเข้าตรวจได้ที่
At Eye Clinic: 9/99 ซอย รัชดาภิเษก 33 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
line OA: Ateye Clinic
โทรศัพท์: 082-296-4696
รวมรีวิวบางส่วน