ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก และการแก้ไข

  • By ณตา จักษุคลินิก
  • 10 มกราคม 2568 04:18 น.
Image of resize-1454693053917.jpg

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรงบริเวณเบ้าตาหรือรอบๆ เบ้าตา ซึ่งความรุนแรงของภาวะนี้อาจมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงมากขึ้นอยู่กับขนาดและทิศทางของแรงกระแทกที่มากระทำ

อาการที่พบบ่อย

- อาการชา บริเวณแก้ม

- เห็นภาพซ้อน

- เปลือกตาบวมและช้ำ

- การเคลื่อนไหวของลูกตาลดลง หรือกลอกตาไม่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตาถูกกดทับจากกระดูกที่แตก

- หลังจากเปลือกตายุบบวม อาจพบว่าตาข้างที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะยุบหรือเล็กลง

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ เนื่องจากบางรายอาจมีภาวะกระดูกเบ้าตาแตกโดยไม่มีอาการชัดเจน

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดกระดูกเบ้าตาแตก

1. กระดูกเบ้าตาแตกเกิน 50%

2. ตำแหน่งของลูกตาข้างที่กระดูกแตกยุบลงเกิน 2 มม.

3. มีอาการ เห็นภาพซ้อน ซึ่งไม่ทุเลาหลังอาการบวมยุบ และพบการกดทับหรือการยึดติดของเนื้อเยื่อ (Entrapment) ระหว่างกระดูกเบ้าตาและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตา

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัด (Gold Period)

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกและให้ผลดีที่สุดคือภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจเกิดพังผืดที่ดึงรั้งระหว่างเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาและกระดูกที่แตก ส่งผลให้เกิดปัญหาในการกลอกตาและภาพซ้อนถาวร

หมวดหมู่

โพสต์ล่าสุด